ทั้งหมด
ออกแบบสิ่งพิมพ์
รายงานประจำปี
หนังสือ / แคตาล็อก / คู่มือ
นิตยสาร / วารสาร
หนังสือแนะนำบริษัท
โบรชัวร์ / แผ่นพับ
แฟ้ม
โปสเตอร์
บรรจุภัณฑ์ / ฉลาก
ปฏิทิน
โฆษณา
ออกแบบเว็บไซต์
เว็บไซต์
ออกแบบกราฟิก
โลโก้
นามบัตรและการ์ด
ซีดี / ดีวีดี
อินโฟกราฟิก
อื่นๆ
บูธ / ดิสเพลย์ / แบนเนอร์
บูธ / ดิสเพลย์ / แบนเนอร์
ถ่ายภาพ
ถ่ายภาพ
อื่นๆ
ของชำร่วย
สื่อโฆษณาส่งเสริมการขาย
การโฆษณา นอกจากสื่อประเภทต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น ยังมีสื่อโฆษณาประเภทอื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการโฆษณาโดยการสื่อสารกับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ได้แก่การโฆษณาทางไปรษณีย์ การโฆษณา ณ จุดซื้อและการโฆษณาโดยใช้สื่อเฉพาะนับเป็นสื่อโฆษณาส่งเสริมการขายที่ใช้ สนับสนุนสื่อหลักประเภทอื่นๆ เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้บริโภคเป็นครั้งสุดท้ายก่อนการตัดสินใจซื้อ
การโฆษณาทางไปรษณีย์
การโฆษณาทางไปรษณีย์ (Direct Mail Advertising) หมายถึง การโฆษณาโดย การจัดทำสื่อโฆษณาในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ ประกอบด้วยภาพสินค้า ข้อความรายละเอียดของสินค้าหรือบริการ แล้วจัดส่งทางไปรษณีย์ไปยังผู้รับที่เป็นผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสื่อสารข้อมูลให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการและ เพื่อให้เกิดการตอบกลับโดยทันทีจากผู้ บริโภค
ประเภทของสื่อโฆษณาทางไปรษณีย์
การ โฆษณาทางไปรษณีย์ เป็นการส่งเอกสารทางไปรษณีย์ถึงผู้รับที่เป็นกลุ่มเป้าหมายโดยตรง อาจเป็นลูกค้าประจำหรือลูกค้าในอนาคต สื่อโฆษณาทางไปรษณีย์มีหลายประเภท ได้แก่
1.1 แคตตาล็อค(Catalog) เป็นสื่อโฆษณาที่สามารถให้รายละเอียดของสินค้าหรือบริการได้อย่างสมบูรณ์ มีลักษณะเป็นเล่ม มีหลายขนาด ภายในเล่มประกอบด้วยภาพของสินค้า ขนาด สี ราคา คุณลักษณะเฉพาะ ข้อความบรรยายถึงประสิทธิภาพ รหัสสินค้ารวมทั้งแบบฟอร์มการสั่งซื้อ เพื่อให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าได้โดยตรงทางไปรษณีย์
1.2 ใบปลิว (Leaflet) เป็นแผ่นโฆษณาแผ่นเดียว อาจพิมพ์หน้าเดียวหรือสองหน้า บรรจุข้อความไม่มากนัก นิยมใช้เผยแพร่ข่าวสารหรือชักจูงในกิจกรรมต่าง ๆ โดยแนบไปกับนิตยสารหรือส่งไปพร้อมจดหมายในกรณีที่ ต้องการให้รายละเอียดเพิ่มเติมหรือเน้นให้เห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากสินค้า หรือบริการ อาจแจกให้แก่ลูกค้าโดยตรงหรือวางบนเคาน์เตอร์สินค้าให้ผู้ที่สนใจหยิบอ่าน
1.3 แผ่นพับ (Folder or Brochure) มีลักษณะคล้ายใบปลิวแต่มีขนาดใหญ่มีการพับมากกว่า 1 ครั้ง สามารถบรรจุข้อความรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการได้มากกว่า ใบปลิว บางครั้งออกแบบให้เป็นซองในตัว มีส่วนที่จ่าหน้าถึงลูกค้าหรืออาจมีส่วนตอบรับให้ส่ง กลับมาได้ด้วย
1.4 จุลสาร (Booklet or Pamplet) เป็นสิ่งพิมพ์โฆษณาที่เป็นรูปเล่มขนาดเล็กกระทัดรัด สามารถบรรจุข่าวสารรายละเอียด ประโยชน์ การทำงานของสินค้าหรือบริการที่ต้องใช้เวลาและข้อมูลในการตัดสินใจมากหรือ ต้องการสร้างความประทับใจเกี่ยวกับชื่อเสียง ความสำคัญและเรื่องราวของหน่วยงาน ให้รายละเอียดได้มากกว่าแผ่นพับ
1.5 จดหมายขาย (Sale Letter) เป็นจดหมายที่ส่งถึงลูกค้าเป้าหมายโดยตรงหรือลูกค้าที่คาดหวัง โดยมีข้อความที่สามารถจูงใจผู้อ่านได้ทันทีเช่น การให้ส่วนลดพิเศษ การได้รับของแถมหรือได้รับบริการฟรีภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อเป็นการแนะนำสินค้าและ ชักจูงให้อยากสั่งซื้อสินค้าหรือใช้บริการ หากมีการเซ็นชื่อผู้ส่งจดหมายด้วยลายเซ็นของตนเอง แล้ว จะทำให้ผู้รับรู้สึกเหมือนเป็นจดหมายส่วนตัวที่ส่งมาถึงโดยเฉพาะ
1.6 ไปรษณียบัตร (Postcard) เป็นกระดาษแผ่นเดียวที่บรรจุข้อความโฆษณาสั้นๆ ในลักษณะเชิญชวนให้มาใช้บริการหรือแนะนำสินค้าใหม่ อาจใช้เป็นแบบตอบรับ (Return Card) โดยบริษัทเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมที่กรมไปรษณีย์เอง
การ โฆษณาทางไปรษณีย์ เป็นการนำจดหมาย แผ่นพับ ใบปลิวต่าง ๆ ส่งให้แก่ลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายโดยตรงทางไปรษณีย์ เพื่อแนะนำสินค้าหรือบริการโดยมีแบบฟอร์ม การสั่งซื้อแนบไปเพื่อให้ลูกค้าเขียนใบสั่งซื้อและส่งกลับทางไปรษณีย์ นับเป็นการโฆษณาที่ ต้องการผลสนองตอบโดยตรงในทันที จึงเป็นการโฆษณาที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง
แนวคิดในการใช้สื่อโฆษณาทางไปรษณีย์
การ โฆษณาทางไปรษณีย์เป็นการโฆษณาแบบเข้าถึงตัวบุคคลโดยตรง มิได้มุ่งไปยังกลุ่มมวลชน จึงต้องเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอ รวมทั้งการพิจารณาถึงคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการที่เหมาะกับการโฆษณาทาง ไปรษณีย์ แนวความคิดในการเลือกประเภทของสินค้ามีดังนี้
2.1 หลักเกณฑ์การเลือกประเภทสินค้า สินค้าที่เหมาะสมกับการโฆษณาทางไปรษณีย์ ควรมีลักษณะดังนี้
2.1.1 เป็นสินค้าที่มีลักษณะเด่น ดึงดูดความสนใจได้ดี ยอมรับได้ง่าย
2.1.2 สามารถอธิบายและสื่อความหมายได้ ด้วยการเขียนข้อความโฆษณา
2.1.3 เป็นสินค้าแปลกใหม่ยังไม่มีขายในท้องตลาดและมีราคามาตรฐานอยู่แล้ว
2.2 ประเภทสินค้าที่ควรหลีกเลี่ยง การโฆษณาทางไปรษณีย์ควรหลีกเลี่ยง สินค้าที่มีลักษณะดังนี้
2.2.1 สินค้าที่จำหน่ายในท้องตลาดและมีราคามาตรฐานอยู่แล้ว
2.2.2 สินค้าที่ยากต่อการสื่อความหมายด้วยการอ่านเพียงอย่างเดียว
2.2.3 สินค้าที่ไม่นำไปสู่การซื้อครั้งต่อไป
2.2.4 สินค้าที่มีราคาถูก
2.3 จรรยาบรรณในการโฆษณาทางไปรษณีย์ ควรปฏิบัติดังนี้
2.3.1 จัดส่งสินค้าตามที่ระบุไว้ในโฆษณา
2.3.2 ควรบรรยายคุณสมบัติของสินค้าตามความเป็นจริง
2.3.3 ไม่ใช้สินค้าที่ผิดกฎหมายหรือมีรูปแบบของการเสี่ยงโชค การพนัน
การโฆษณาทางไปรษณีย์ ควรเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจสั่งซื้อทาง
ไปรษณีย์บัตรหรือทางโทรศัพท์โดยเสนอขายสินค้าหรือบริการที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
การออกแบบสื่อโฆษณาทางไปรษณีย์
การ โฆษณาทางไปรษณีย์ เป็นการสื่อความหมายระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ โดยใช้สื่อในรูปแบบต่าง ๆ เพื่ออธิบายเรื่องราว ข้อเสนอพิเศษและประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้าหรือบริการ การออกแบบและผลิตสื่อโฆษณาทางไปรษณีย์มีดังนี้
3.1 แคตตาล็อค
มี ลักษณะเป็นเอกสารเย็บเล่มที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งขายสินค้าหรือบริการ มีรูปแบบและการจัดทำที่สวยงามมีสีสันและรูปภาพที่ดึงดูดความสนใจผู้อ่าน การจัดทำต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์และความพิถีพิถันมาก โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับศิลปะ การจัดหน้า ภาพประกอบและถ้อยคำที่ใช้บรรยายต้องสื่อ ความหมายได้มากที่สุด ภายในเล่มจะแสดงภาพและรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการไว้อย่างครบถ้วน มีหน้าปกที่สวยงามสะดุดตา มีรูปเล่มหลายแบบหลายขนาด ใช้กระดาษคุณภาพดีพิมพ์ด้วยระบบออฟเซต เพื่อส่งให้แก่สมาชิกหรือลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย มีขั้นตอนการผลิตดังนี้
3.1.1 การทำต้นแบบร่าง หมายถึง การจัดหน้าสิ่งพิมพ์ที่เป็นเล่มหรือเรียกว่าการทำดัมมี่ (Dummy) โดยนำเนื้อหาต้นฉบับมาพิมพ์ เพื่อคำนวณจำนวนหน้าและจำนวนกระดาษที่ต้องใช้ รวมทั้งสามารถกำหนดส่วนต่างๆ ของเอกสารได้อย่างเหมาะสม ด้วยการตัดกระดาษเท่าขนาดเล่มจริงเย็บเป็น รูปเล่มสำหรับกำหนดโครงสร้างของเอกสาร
3.1.2 การกำหนดตำแหน่งพื้นที่ต้นฉบับ หมายถึง การกำหนดพื้นที่ของสิ่งพิมพ์ในแต่ละหน้าว่าจะวางองค์ประกอบ เช่น ภาพ ตัวอักษร ให้อยู่ในตำแหน่งใดจึงเหมาะสม โดยคำนึงถึงขนาดพื้นที่ ขนาดคอลัมน์และพื้นที่ว่าง ซึ่งควรพิจารณาพร้อมกันทั้ง 2 หน้า เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ แล้วจึงทำเป็นเลย์เอาต์ อาจใช้ตารางกริดช่วยให้การจัดหน้าเป็นระเบียบ ลงตัวและมีความรวดเร็วในการสร้างภาพต้นฉบับ
3.1.3 การทำต้นฉบับที่สมบูรณ์ โดยใช้วัสดุจริงจากรูปแบบที่กำหนดไว้ในขั้นตอนการทำเลย์เอาต์ โดยการติดภาพและข้อความลงบนกระดาษกราฟิคสีเขียวขนาดเท่างานจริง แล้วนำไปถ่ายฟิล์มเพื่อใช้เป็นต้นฉบับ องค์ประกอบที่สำคัญสำหรับ การทำภาพต้นฉบับคือ
3.1.3.1 ตัวเรียงพิมพ์ อาจใช้การเรียงพิมพ์ด้วยมือในระบบเลตเตอร์เพรสการเรียงพิมพ์ด้วยแสงจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบออฟเซต การเรียงพิมพ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือการเรียงพิมพ์จากอักษรลอก แล้วนำมาจัดคอลัมน์ (Column) และตรวจพิสูจน์อักษรให้ถูกต้อง
3.1.3.2 ภาพประกอบ อาจเป็นภาพวาด ภาพลายเส้น ภาพสกรีน ภาพพิมพ์สีหรือภาพถ่าย เพื่อสื่อความหมายที่ตรงตามเนื้อหา สร้างความน่าสนใจ เช่นการวางภาพและตัวอักษรในหน้าเดียวกัน การวางภาพและตัวอักษรคนละหน้าหรือการวางภาพและตัวอักษรเชื่อมต่อเนื่อง ระหว่างสองหน้า
3.1.3.3 การทำเครื่องหมายสำหรับช่างพิมพ์ ในการทำต้นฉบับสิ่งพิมพ์ ผู้ออกแบบ จำเป็นต้องกำหนดเครื่องหมายลงในต้นฉบับ เพื่อสื่อความต้องการให้ช่างพิมพ์ปฏิบัติได้ตรงตามความต้องการของผู้ออกแบบ เช่น เครื่องหมายแสดงมุมการกำหนดสี การกำหนดแนวพับกระดาษ การสั่งย่อ - ขยายภาพ การสั่งสีและพิมพ์สกรีน
3.1.3.4 การพิมพ์ โดยการนำต้นฉบับส่งโรงพิมพ์ ส่วนมากนิยมพิมพ์ในระบบออฟเซต ซึ่งให้ความประณีตสวยงาม สร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่สินค้า สามารถเก็บไว้ได้นาน และนับเป็นการส่งเสริมการขายที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองจากผู้บริโภค เป็นอย่างดี
3.2 ใบปลิว เป็นสิ่งพิมพ์ที่ ใช้ในการประชาสัมพันธ์สื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง โดยการแจกด้วยบุคคล วางบนเคาน์เตอร์สินค้าหรือพับใส่ซองส่งไปยังลูกค้าจุดเด่นที่จะดึงดูดความ สนใจผู้อ่าน ขึ้นอยู่กับลีลาการเขียนข้อความเพื่อนำเสนอวัตถุประสงค์เป็นสำคัญลักษณะของ ใบปลิวมักพิมพ์ด้วยกระดาษแผ่นเดียว ส่วนมากจะเป็น ขนาด A 4 มักไม่มีภาพประกอบ อาจพิมพ์สีเดียวด้วยระบบเลตเตอร์เพรส ซึ่งมีขั้นตอนการพิมพ์ดังนี้
3.2.1 ส่งต้นฉบับที่เป็นภาพและข้อความ โดยกำหนดขนาดและรูปแบบตัวอักษรในต้นฉบับให้โรงพิมพ์
3.2.2 โรงพิมพ์จะพิมพ์ข้อความด้วยตัวเรียงโลหะ ส่วนภาพจะทำเป็นบล็อกแล้วนำมาประกอบกันเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์
3.2.2 โรงพิมพ์จะพิมพ์ข้อความด้วยตัวเรียงโลหะ ส่วนภาพจะทำเป็นบล็อกแล้วนำมาประกอบกันเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์
3.3 แผ่นพับ มีลักษณะเป็นกระดาษแผ่นเดียวที่พับทบไปมาตั้งแต่ 2 ทบขึ้นไปใช้พื้นที่หน้า – หลังของกระดาษ ไม่มีการเย็บเล่มและไม่มีเลขหน้ากำกับ การออกแบบจึง ต้องจัดเรียงลำดับการเสนอข้อความและรูปภาพให้เหมาะสม กับลักษณะของการพับ เพื่อไม่ให้ผู้อ่านเกิดความสับสนในการอ่าน แผ่นพับประกอบไปด้วยหัวเรื่องซึ่งเป็นคำที่ดึงดูดใจ ข้อความรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการเพื่อโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านภาพ ประกอบเพื่อให้ความชัดเจน มีตราสัญลักษณ์เพื่อให้ลูกค้าติดต่อและแสดง ความรับผิดชอบในสิ่งพิมพ์ของตน ขั้นตอนในการผลิตแผ่นพับ มีดังนี้
3.3.1 เตรียมต้นฉบับที่เป็นเนื้อหาและภาพประกอบ โดยเสนอเฉพาะประเด็นสำคัญที่น่าสนใจ จัดไว้ในส่วนที่เป็นด้านในส่วนปกควรออกแบบให้สัมพันธ์กับเนื้อหาด้านใน อาจใช้ภาพเหมือนจริงหรือภาพนามธรรมที่สื่อความหมายได้ทันที
3.3.2 กำหนดรายละเอียดในการพิมพ์ ได้แก่ การกำหนดขนาด จำนวนหน้าวิธีการพับ การทำเลย์เอาต์ควรจัดข้อความและภาพให้สวยงามกลมกลืนกันอย่างมีเอกภาพส่วนการ กำหนดแบบและขนาดตัวอักษร ควรวิเคราะห์จากกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสาร ในส่วนหัวเรื่องควรเน้นตัวอักษรขนาดใหญ่ หรือมีรูปแบบแตกต่างจากส่วนที่เป็นเนื้อความ
3.3.3 การทำอาร์ตเวิร์ค โดยพิสูจน์อักษรเพื่อแก้ไขคำผิด กำหนดขนาดของภาพ เปอร์เซ็นต์ของการสกรีน กำหนดรอยพับ กำหนดสีในส่วนต่างๆ อย่าง ชัดเจน เพื่อเป็นต้นฉบับอาร์ตเวิร์คที่สมบูรณ์
3.3.4 การพิมพ์ โดยการนำอาร์ตเวิร์คส่งโรงพิมพ์ นิยมพิมพ์ด้วยระบบออฟเซตใช้กระดาษคุณภาพดี เช่น กระดาษอาร์ต
3.4 จุลสาร มีลักษณะเป็นเอกสารเย็บเล่มขนาด 5 x 7 นิ้ว หรือ 6 x 8 นิ้วมีปกหุ้ม กระดาษที่ใช้มักเป็นกระดาษปอนด์หรือกระดาษบรู๊ฟ มีขั้นตอนการผลิตดังนี้
3.4.1 การเตรียมต้นฉบับ ออกแบบปก ภาพประกอบที่สื่อความหมายตรงตามเนื้อหา ข้อความที่สั้นกระชับเข้าใจง่าย
3.4.2 การกำหนดรายละเอียดในการพิมพ์ ได้แก่ ขนาดรูปเล่ม การทำดัมมี่ รูปแบบและขนาดตัวอักษร
3.4.3 การตรวจสอบความถูกต้อง แล้วจึงทำอาร์ตเวิร์คแต่ละหน้า ตามดัมมี่ที่กำหนดไว้
3.4.4 ส่งอาร์ตเวิร์คเข้าสู่ระบบการพิมพ์และเย็บเล่ม
3.5 จดหมายขาย เป็นสิ่งพิมพ์หลักในการโฆษณาทางไปรษณีย์ในลักษณะของจดหมายเชิญชวนที่ส่งถึง ผู้ซื้อโดยตรง ทำให้ผู้รับรู้สึกว่าเป็นการติดต่อส่วนบุคคลจึงเกิดความสนใจในข่าวสาร มักใช้ควบคู่กับแผ่นพับหรือแคตตาล็อค เพื่อเป็นการแนะนำสินค้าหรือบริการเป็นการชักจูงให้ผู้อ่านอยากซื้อสินค้า โดยบอกให้อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากสิ่งตีพิมพ์ที่แนบมาด้วย การออกแบบให้น่าสนใจทำได้โดยออกแบบหัวจดหมายให้เข้ากับเนื้อหาและสินค้านั้น กระดาษและซองที่ใช้ในการออกแบบจัดพิมพ์ขึ้นเป็นพิเศษมีสีสันที่สวยงาม เพื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้รับโดยคำนึงถึงประเภท ราคาของสินค้าและกลุ่มเป้าหมายด้วย การเขียนจดหมายขายควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
3.5.1 คำขึ้นต้นจดหมาย ควรมีการระบุชื่อ นามสกุลที่ถูกต้อง เพราะจะทำให้ผู้รับเกิดความรู้สึกว่ากำลังสื่อสารโดยตรงกับผู้ส่งแสดงถึง ความสนใจให้เกียรติเสมือนเป็นบุคคลสำคัญ
3.5.2 ส่วนเนื้อความ ควรระมัดระวังการใช้คำที่ไม่เหมาะสมควรพิจารณาความถูกต้องตามหลักภาษา ใช้ข้อความสั้น กระชับ ได้ใจความ
3.5.3 คำลงท้าย ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับโอกาสและกลุ่มผู้รับการเซ็นชื่อด้วยตนเอง จะทำให้ผู้รับประทับใจมากกว่าการใช้ตรายาง
3.6 ไปรษณียบัตร เป็นข้อความที่พิมพ์ลงบนกระดาษขนาดไปรษณียบัตรใช้ส่งข่าวสารหรือชักชวนใน เรื่องใดเรื่องหนึ่งหรืออาจใช้เป็นใบตอบรับสำหรับการสั่งซื้อสินค้าหรือ บริการ สามารถผลิตได้รวดเร็ว มีข้อความสั้นกระชับ มีขนาดเล็กสามารถพกติดตัวได้ มีต้นทุนต่ำแต่เนื่องจากมีขนาดเล็กบรรจุข้อความได้น้อย ดังนั้นผู้เขียนข้อความโฆษณาจึงต้องใช้ความ สามารถในการใช้ถ้อยคำได้ดีจึงสามารถเรียกร้องความสนใจจากผู้อ่านได้ ไปรษณียบัตรอาจจัดพิมพ์บนไปรษณียบัตรของการสื่อสารหรือจัดพิมพ์ขึ้นใหม่ ให้มีภาพและสีสันสวยงามก็ได้
คุณสมบัติของสื่อโฆษณาทางไปรษณีย์
การโฆษณาทางไปรษณีย์ เป็นการโฆษณาที่ต้องการผลตอบสนองโดยตรงจากผู้บริโภค เพราะสามารถวัดประสิทธิภาพของการโฆษณาได้ทันทีและเป็นการกระตุ้นการขายได้ เป็นอย่างดี การเลือกใช้สื่อโฆษณาทางไปรษณีย์ ควรพิจารณาจากคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
4.1 ข้อดีของสื่อโฆษณาทางไปรษณีย์ มีหลายประการ เช่น
4.1.1 สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเข้าถึงได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
4.1.2 สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้จำนวนมาก
4.1.3 สร้างความถี่ได้ตามต้องการ
4.1.4 ไม่มีข้อจำกัดในการใช้ความคิดสร้างสรรค์
4.1.5 สามารถเลือกโฆษณาได้ทันกับฤดูกาลหรือเทศกาลที่จะเกิดขึ้น
4.1.6 มีความเป็นส่วนตัว เข้าถึงลูกค้าได้เฉพาะเจาะจง
4.1.7 ต้นทุนต่ำ
4.1.8 สามารถวัดประสิทธิภาพของการโฆษณาและผลตอบสนองจากผู้บริโภคได้ ทันที
4.2 ข้อจำกัดของการโฆษณาทางไปรษณีย์ มีหลายประการ เช่น
4.2.1 อาจมีผลต่อภาพลักษณ์ของตราสินค้า หากคุณภาพสื่อไม่ดี
4.2.2 ความผิดพลาดของรายชื่อกลุ่มเป้าหมายอาจไม่ใช่ลูกค้าที่มีศักยภาพ
4.2.3 อาจพบปัญหาในการสร้างสรรค์ข้อมูลสนับสนุนเพื่อดึงดูดความสนใจของ ลูกค้า
การ เลือกใช้สื่อโฆษณาทางไปรษณีย์ ควรพิจารณาถึงความเหมาะสมเช่น เมื่อต้องการ เลือกตลาดเฉพาะสำหรับสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ต้องการติดต่อกับลูกค้าโดยตรงเป็นการส่วนตัว ต้องการกระตุ้นยอดขายและปฏิกิริยาตอบสนองจากลูกค้า รวมทั้งการสร้างความ ถี่ในการติดต่อลูกค้า